ประกัน พีเอ ระยะยาว

( Long term PA Insurance)

ทำประกัน PA ดีไหม มีสิทธิพิเศษอะไรบ้าง ?

เรียกได้ว่า ประกัน PA เป็นอีกหนึ่งประกันภัยที่ใครหลายคนต่างให้ความสนใจและอยากทำกันมากที่สุด ซึ่งสาเหตุนั้นมาจาก ‘สิทธิพิเศษ’ ที่ครอบคลุมทั่วถึงนั่นเอง โดยก่อนจะไปพูดถึงเรื่องสิทธิพิเศษที่ผู้เอาประกันจะได้รับ ไปทำความรู้จักกับประกันตัวนี้เพิ่มเติมกันสักหน่อยดีกว่า

ประกัน PA คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ Personal Accident (PA) โดยกรมธรรม์นี้จะคุ้มครองคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เริ่มตั้งแต่ บาดเจ็บเล็กน้อย, กระดูกหัก, สูญเสียอวัยวะ, พิการ ตลอดจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามประกัน PA ไม่ครอบคลุมอาการป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ ไม่แม้แต่โรคเดียว ฉะนั้นอย่าเข้าใจผิดกันล่ะ

และแน่นอนว่าสิทธิพิเศษที่คุณจะได้จากการทำประกัน PA คือ ค่าใช้จ่ายหลังเกิดอุบัติเหตุบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายเอง ซึ่งนั่นรวมไปถึงเงินชดเชยที่คุณจะได้รับตามกรมธรรม์ที่ทำเอาไว้ โดยจำนวนเงินชดเชยนี้จะขึ้นอยู่กับวงเงินคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือก็คือ ในแต่ละปียิ่งคุณจ่ายเบี้ยประกันมากเท่าไหร่ วงเงินคุ้มครองก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

แนะนำกรมธรรม์ที่ควรทำควบคู่กันไปกับ ประกัน PA

ถ้าคุณเพิ่งจะขอสินเชื่อซื้อรถจากธนาคารมาหมาด ๆ และต้องจ่ายค่างวดรถทุกเดือน “ประกันสินเชื่อรถยนต์” นับว่าตอบโจทย์ดีทีเดียว เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และเผื่อกรณีร้ายแรงที่สุด เช่น ทุพพลภาพชั่วคราว, ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต ซึ่งจะส่งผลต่อการชำระค่างวดคงค้าง รวมถึงสิทธิ์การยึดครองรถต่อไปในอนาคต

โดยกรมธรรม์ประกันสินเชื่อรถยนต์จะเข้ามาอุดช่องโหว่ตรงจุดนี้ เพราะเมื่อผู้เป็นเจ้าของรถไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้อีกแล้ว บริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายส่วนที่เหลือแทนตามวงเงินเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันทำไว้ ซึ่งจะช่วยลดภาระของคนในครอบครัว และรับประกันว่าสิทธิ์ถือครองรถยนต์จะถูกส่งมอบให้แก่ครอบครัวของผู้เอาประกันจนถึงมือได้ในท้ายที่สุด

ประกันสินเชื่อรถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

ข้อเสนอประกันสินเชื่อรถยนต์นั้น โดยปกติจะได้รับความคุ้มครองไปตลอดจนครบอายุสัญญาเช่าซื้อ หรือในอีกกรณีที่ผู้เอาประกันอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใดหากแต่ยังอยู่ในข้อกำหนด บริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายหนี้คงค้างแก่สถาบัน หรือธนาคารที่ผู้เอาประกันไปกู้ซื้อรถยนต์มา โดยกรมธรรม์นี้จะคุ้มครองเฉพาะ

  • กรณี ‘บาดเจ็บ’ เช่น สูญเสียอวัยวะ, สูญเสียการมองเห็น จากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้ายร่างกาย
  • กรณี ‘ทุพพลภาพสิ้นเชิง’ จากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้าย
  • กรณี ‘เสียชีวิต’ จากอุบัติเหตุหรือถูกทำร้ายร่างกาย

สรุป

ประกัน PA จะช่วยคุ้มครองคุณในยามเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อร่างกาย ตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย สูญเสียอวัยวะ พิการ หรือเสียชีวิต แต่ถ้าผู้เอาประกันเพิ่งจะขอสินเชื่อซื้อรถมา การทำประกันสินเชื่อรถยนต์ร่วมด้วยก็จะดีไม่น้อย เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นมาจริง ๆ ปัญหาหนี้สินค่างวดรถยนต์จะได้ไม่ตกเป็นของครอบครัวอีกทอดหนึ่งต่อไป และถ้าคุณสนใจ มาทำประกันภัยกับ ‘ตรีเพชรอินชัวรันส์’ สิ ! ที่นี่เราพร้อมให้บริการคุณด้วยความห่วงใยเสมอ

PA Insurance แผนคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ

หมายเหตุ

  • ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุ 16-60 ปี ณ วันที่ทำประกันภัย
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย
  • ผู้เอาประกันภัยต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นชาวต่างชาติ ต้องมีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติ พิการ บกพร่อง หรือทุพพลภาพ
  • อาชีพที่ไม่รับประกันภัย:
    ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง เช่น พนักงานในเหมือง, กรรมกร, ชาวประมง, คนงานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน, พนักงานทำความสะอาดกระจกภายนอกอาคารสูง, พนักงานติดตั้งไฟฟ้าแรงสูง, นักแข่งรถ, คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, อาสาสมัคร

PA Insurance แผนคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ อายุเกิน 60

หมายเหตุ

  • ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุเกิน 60 ปี (>60-65 ปี) ณ วันที่ทำประกันภัย
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย
  • ผู้เอาประกันภัยต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นชาวต่างชาติ ต้องมีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งผิดปกติ พิการ บกพร่อง หรือทุพพลภาพ
  • อาชีพที่ไม่รับประกันภัย:
  • ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง เช่น พนักงานในเหมือง, กรรมกร, ชาวประมง, คนงานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน, พนักงานทำความสะอาดกระจกภายนอกอาคารสูง, พนักงานติดตั้งไฟฟ้าแรงสูง, นักแข่งรถ, คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, อาสาสมัคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

"เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้" เพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงเว็บไซต์และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
หากท่านไม่ประสงค์จะให้คุกกี้เก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ท่านสามารถยกเลิกโดยการปิดการทำงานของคุกกี้ได้จากบราวเซอร์ของท่าน
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save