ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

พ.ร.บ. ราคา 600 บาท
สำหรับรถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

เปรียบเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

พ.ร.บ. ราคา 600 บาท
สำหรับรถยนต์โดยสาร
ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ดีอย่างไร

  • ค่ารักษาพยาบาล
  • คุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ
  • ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต
  • ค่าชดเชยรายวันในฐานะผู้ป่วยใน

การทำ พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ จะให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบเหตุ และรถทุกคันจำเป็นที่ต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับทั้งสิ้น

กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย


คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย


ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทําประกันภัย เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน หากได้รับความเสียหายแก่ร่างกาย อนามัย รวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

ในปัจจุบัน การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณสามารถต่อ พรบ. หรือต่ออายุประกันภาคสมัครใจในบางบริษัทประกันฯ ได้พร้อมๆ กัน

พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้น จะชดเชยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต ภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น เคลม พ.ร.บ. ได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

ค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายในรถ

ผู้ประสบภัยได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ

เงินค่ารักษาที่จ่ายตามจริง 30,000 บาท ต่อคน

คุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพ ของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ, ทุพพลภาพอย่างถาวร ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น

เงินชดเชย 35,000 บาท ต่อคน

คุ้มครองการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก

ผู้ประสบภัยเสียชีวิต จะได้รับค่าปลงศพตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น

เงินชดเชย 35,000 บาท ต่อคน

หมายเหตุ* หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้ว ไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน

จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้ว
ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฏหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้

ค่าสินไหมทดแทน หลังพิสูจน์แล้วเป็นฝ่ายถูก

ค่ารักษาพยาบาลบุคคลภายในรถ

ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ

เงินค่ารักษาที่จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน

คุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพ ของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

สูญเสียอวัยวะ, ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

เงินชดเชย 200,000 – 500,000 บาท ต่อคน

คุ้มครองการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก

กรณีการเสียชีวิต

เงินชดเชย 500,000 บาท ต่อคน

เงินประกันตัวผู้ขับขี่ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา

กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน

ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ราคา ปี 2567
จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. รถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์โดยสาร ไม่เกิน 7 ที่นั่ง หรือที่เราคุ้นเคยกันว่าเป็นรถเก๋ง ราคา 600 บาท
  • รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่ถึง 15 ที่นั่ง หรือรถตู้ ราคา 1,100 บาท
  • รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
  • รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
  • รถยนต์โดยสาร เกิน 7 ที่นั่ง และเกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท

2. รถกระบะ และรถบรรทุก

  • รถบรรทุก หรือรถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ราคา 900 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,310 บาท
  • รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน ราคา 1,680 บาท
  • รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน ราคา 2,320 บาท

3. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

  • หัวรถลากจูง เช่น รถลากพ่วง รถกึ่งพ่วง ราคา 2,370 บาท
  • รถพ่วง ราคา 600 บาท
  • รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร ราคา 90 บาท

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมีประกันภัยชนิดนี้ แต่ถ้าเป็นประกันภัยภาคสมัครใจ คือ เจ้าของรถยนต์ควรมีเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยเจ้าของรถสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความพึงพอใจ

ไม่ได้ เนื่องจากเป็นกฏหมายที่ทางภาครัฐระบุเอาไว้ชัดเจนว่า พ.ร.บ. นี้มีไว้เพื่อคุ้มครองสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน หากได้รับความเสียหายแก่ร่างกาย อนามัย เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์

ลูกค้าสามารถเลือกวันคุ้มครองได้ ซึ่งมักจะกำหนดให้คุ้มครองต่อเนื่องจากกรมธรรม์ฉบับเดิม หรือจะกำหนดวันที่จะให้เริ่มต้นความคุ้มครองเป็นวันที่ซื้อพ.ร.บ. ก็ได้ หากพ.ร.บ. ฉบับเดิมหมดอายุแล้ว

สำหรับการเคลมหรือเบิก พ.ร.บ. นั้นจะเป็นการยื่นเรื่องเคลมเพื่อรับเงิน หลังจากที่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

  1. เอกสารที่ต้องใช้ในการเคลม พ.ร.บ.
    • สำหรับเกิดเหตุทุกกรณี
      • สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
      • สำเนาทะเบียนบ้าน
      • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
      • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
      • ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
      • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
      • ใบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
    • เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีบาดเจ็บ
      • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
    • เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีรักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน
      • ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
    • เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีทุพพลภาพ
      • ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
      • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
    • เอกสารเพิ่มเติมในการเคลม กรณีเสียชีวิต
      • ใบมรณบัตร
      • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
      • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  2. ระยะเวลาการทำเรื่องเบิก พ.ร.บ.
    • ต้องทำเรื่องเบิกภายใน 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุ
  3. บุคคลใดสามารถทำเรื่องเบิก พ.ร.บ.
    • ผู้ประสบภัย, ผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย
  4. ช่องทางติดต่อการเคลม พ.ร.บ.
    • ยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
    • โทร. 1791 เพื่อยื่นเรื่องผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์

เมื่อ พ.ร.บ. จะหมดอายุ จะต้องรีบไปซื้อพ.ร.บ. จุดบริการขาย หรือซื้อพ.ร.บ. ที่ TPIS ก็ได้ ถ้าปล่อยให้พ.ร.บ. หมดอายุและใช้งานรถยนต์แบบไม่มีประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ จะมีความผิดตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

  • เล่มจดทะเบียนรถยนต์ตัวจริง หรือสำเนาทะเบียนรถ
  • พ.ร.บ. รถยนต์ฉบับเดิม
  • เอกสารตรวจสภาพรถยนต​์

ดี เพราะจะได้ไม่ลืมต่อประกันภัยทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับ และที่สำคัญเพื่อความสะดวกสบายไม่ต้องติดต่อ 2 บริษัท เมื่อต้องการเคลมประกัน

มีเจ้าหน้าที่อธิบายข้อดีและประโยชน์ของการซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) อีกทั้งพร้อมให้คำแนะนำด้านประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจฟรี

ได้ที่ช่องทางออนไลน์ โทรศัพท์หรือกรอกข้อมูลให้ติดต่อกลับ พร้อมแจ้งความประสงค์ ซื้อพ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยเมื่อเจ้าหน้าที่โทรหาคุณ

ลูกค้าสามารถเลือกช่องทางการชำระค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ตามความสะดวกที่ง่ายสำหรับคุณ เช่น ATM, Internet Banking หรือเคาน์เตอร์ชำระเงินของผู้ให้บริการต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

"เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้" เพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงเว็บไซต์และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
หากท่านไม่ประสงค์จะให้คุกกี้เก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ท่านสามารถยกเลิกโดยการปิดการทำงานของคุกกี้ได้จากบราวเซอร์ของท่าน
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save