นอนเวลาไหนดีต่อสุขภาพ
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอถือเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ เพิ่มอารมณ์แจ่มใสสดชื่นได้ตลอดวัน หลายคนคงมีคำถามว่าแล้วเราควรเข้านอนเวลาไหนดีถึงจะเรียกว่าเป็นการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ และควรนอนกี่ชั่วโมงดี? บทความนี้มีคำตอบ
เข้านอนกี่โมง ควรตื่นกี่โมง
ปกติแล้วคนเราจะใช้ชีวิตในตอนกลางวัน เข้านอนในตอนกลางคืน โดยเวลาที่เหมาะสำหรับในการเข้านอนมากที่สุดคือไม่ควรเกิน 22.00 น. เพื่อให้หลับลึกในช่วงประมาณ 00.00 – 02.00 น. ซึ่งในช่วงตั้งแต่ 22.00 – 02.00 เป็นช่วงที่ร่างกายสามารถผลิต Grown Hormone ออกมาได้มากซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และตื่นขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้นช่วง 05.00 – 06.00 น. ซึ่งนับได้ระยะเวลาประมาณ 7-9 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อนและสามารถฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งส่งผลให้ระบบทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บางคนอาจคิดว่าตัวเองนอนยาวเพียงพอแล้ว แต่ทำไมสุขภาพยังไม่ดี สงสัยจัง? คำตอบคือต้องกลับไปดูว่าระยะเวลาเข้านอนนั้นเกิน 4 ทุ่มหรือไม่ เพราะหากดูตามนาฬิกาชีวิตแล้ว ถึงแม้จะนอนนานเพียงพอ แต่นอนดึกเกินไป เช่น นอนเที่ยงคืน ตื่น 09.00 น. ก็ไม่ถือว่าเป็นการนอนที่มีประสิทธิภาพอยู่ดี ฉะนั้นเวลาเข้านอนมีผลสำคัญต่อการนอนที่ดี
นอนกี่ ชม. ถึงจะถือว่าเป็นการอดนอนทางการแพทย์
ระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนที่เหมาสมควรอยู่ในช่วง 7-9 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ หรือมีการอดนอนมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป อาจเรียกได้ว่าเป็นการอดนอนทางการแพทย์ หรือ Sleep Deprivation ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจถือเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกาย และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันลดลงตามไปด้วย
ถ้าอดนอนจะเกิดอะไรกับร่างกายบ้าง
เมื่อใดที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเผชิญกับการอดนอนต่อเนื่องหลายชั่วโมง หลายวัน ก็อาจส่งเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และส่งผลกระทบต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตได้มากมาย ดังต่อไปนี้
การเลือกเวลาเข้านอนที่เหมาะสม คือไม่เกิน 4 ทุ่ม และตื่นขึ้นมาในช่วงเช้าประมาณ 05.00 – 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หรือการได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนนั้นถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะแก่การให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้อวัยวะภายในร่างกายได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเอง ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี มีสมาธิในการเรียนการทำงาน สุขภาพจิตแจ่มใสอีกด้วย
ทั้งนี้สำหรับบางท่านที่นอนได้ระยะเวลา 7 – 9 ชั่วโมงต่อคืนแล้ว แต่ยังมีอาการง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน รู้สึกเหมือนนอนนานแล้วแต่ก็ยังไม่พอ แนะนำให้ไปตรวจการนอนหลับ เพราะคุณอาจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็เป็นได้
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ