ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่ชอบทำประกันชีวิต?

จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทยพบว่า สถิติธุรกิจประกันชีวิตระหว่างปี 2562 – 2566 สัดส่วนการถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อจำนวนประชากรมีเพียงร้อยละ 40.23 นั่นหมายความว่า คนไทย 100 คน จะมีประกันชีวิตเพียง 40 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับประชากรในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตมากกว่าร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังใช้ประโยชน์จากประกันชีวิตไม่เต็มที่และเข้าใจด้านการเงินไม่มากพอ … หลายคนเลือกที่จะปฏิเสธ หรือบ่ายเบี่ยงทันทีเมื่อมีตัวแทนประกันชีวิตเข้ามาเสนอขาย เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เหตุผลที่ทำให้คน 20 – 30 ไม่อยากซื้อประกันชีวิต
- รายได้ไม่เพียงพอ
ต้องยอมรับว่าภายหลังวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ส่งผลให้คนไทยหลายคนต้องผจญกับวิกฤตทางการเงิน หลายคนโดนเลิกจ้าง แม้ว่าจะผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวมาได้แต่ภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับรายได้และภาระในครอบครัว หลายคนจึงมองว่าการทำประกันชีวิตถือเป็นภาระ เพราะคนในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังสร้างตัว บางคนซื้อรถ บางคนซื้อบ้าน และบางส่วนยังเป็นหนี้ทางการศึกษา จึงไม่อยากเพิ่มภาระในการจ่ายเบี้ยประกันรายเดือนหรือรายปี

- มีสวัสดิการอยู่แล้ว
ส่วนหนึ่งของคนในวัย 20 – 30 ปี ไม่นิยมทำประกันชีวิตเพราะมีสวัสดิการอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำประกันชีวิต เพราะคิดว่าตราบใดที่ยังทำงานอยู่ก็จะมีสวัสดิการจากบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐคอยดูแล ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ , ประกันอุบัติเหตุหมู่ หรือแม้แต่สวัสดิการจากภาครัฐที่มีให้กับข้าราชการทุกหมู่เหล่า
- ไม่เข้าใจรายละเอียดของประกันที่ดีพอ
เชื่อว่าหลายคนที่เคยได้ยินหรือได้รับการเสนอขายประกันชีวิตมักจะไม่เข้าใจรายละเอียดของประกันชีวิตที่ดีพอ เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จะพูดเร็ว ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก ไม่อธิบายรายละเอียดที่ครบถ้วนและชัดเจน โดยเฉพาะประกันที่มีเงื่อนไขซับซ้อน ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่าการทำประกันเป็นเรื่องยุ่งยากและไม่โปร่งใส
- ประสบการณ์ไม่ดีจากคนใกล้ตัว
หลายคนเคยได้ยินเรื่องราวจากคนรู้จักเกี่ยวกับปัญหาการเคลมประกัน การถูกบังคับขาย หรือการซื้อประกันที่ไม่ตอบโจทย์ ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจและรู้สึกไม่อยากเสี่ยง
- มองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม หรือคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ทำให้มองว่าการทำประกันเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าหากต้องลงทุนในระยะยาว
บทความ วิธีวางแผนการเงินของคนอายุ 20
อายุ 20 – 30 ควรมีประกันชีวิตแบบไหนดี
แม้ว่าหลายคนจะลังเลกับเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่สนใจ โดยช่วงอายุ 20-30 ปี เป็นวัยที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงาน เริ่มที่จะเป็นผู้ใหญ่และมีความรับผิดชอบมากขึ้น … ประกันชีวิตเพื่อตอบโจทย์ให้เหมาะสมกับช่วงวัยดังกล่าวมีดังนี้

ประกันที่เหมาะสำหรับคนช่วงอายุ 20 – 30 ปี
- ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น 10 , 20 หรือ 30 ปี เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองในระยะสั้นหรือต้องการออมเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดและมีแผนที่จะใช้เงินดังกล่าวเมื่อระยะเวลากรมธรรม์สิ้นสุดลง เช่น วางแผนที่จะซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือใช้สำหรับเป็นสินสอด เป็นต้น ข้อดีอีกหนึ่งข้อคือประกันชีวิตรูปแบบนี้สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย
- ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked) เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองและมีการลงทุนควบคู่กันไป เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากเงินที่จ่ายไป เพราะค่าเบี้ยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคุ้มครองชีวิตและทุพพลภาพ ส่วนที่สองจะเป็นลักษณะของหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนนั้น ๆ เหมาะสำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลให้
- ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ต้องยอมรับว่าในวัย 20-30 ปี เป็นวัยแห่งความคึกคะนองและกำลังไฟแรงในการทำงาน การพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าจะต้องทุ่มแรงกายแรงใจในการทำงาน ย่อมส่งผลด้านเวลาในการดูแลตัวเอง พักผ่อนน้อย และเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยและอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัวหากต้องพักรักษาตัวหรือไม่สามารถกลับไปทำงานได้อีก อย่างน้อยประกันที่ทำไว้ก็จะเข้ามาดูแลในส่วนนี้
แม้ว่าคนรุ่นใหม่จะไม่ค่อยนิยมทำประกันชีวิตเนื่องจากมองว่าไม่จำเป็นและเป็นภาระทางการเงิน แต่ความเสี่ยงในชีวิตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเลือกประกันชีวิตที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการที่แท้จริงจะช่วยให้ได้รับความคุ้มครองที่ดีโดยไม่เป็นภาระมากเกินไป ดังนั้นการศึกษาข้อมูลและเลือกแผนประกันที่ตอบโจทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ