ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ vs แบบตลอดชีพ ต่างกันยังไง

เมื่อความไม่แน่นอนของชีวิต การวางแผนการเงินในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนเริ่มต้นจากเงินฝาก การลงทุน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ‘การทำประกันชีวิต’ เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการเงินระยะยาว เพราะสามารถเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวในยามฉุกเฉินได้ โดยเฉพาะ ‘ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์’ และ ‘ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ’ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด หลายคนอาจสงสัยว่าทั้งสองแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับเป้าหมายของตัวเองมากกว่า? บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจเชิงลึก พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย เพื่อช่วยให้ตัดสินใจในการทำประกันได้อย่างมั่นใจ
ประกันชีวิตแต่ละประเภทคืออะไร?
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตที่ผสมผสานระหว่าง ‘การออมเงิน’ และ ‘ความคุ้มครองชีวิต’ เข้าไว้ด้วยกัน โดยผู้เอาประกันจะต้องชำระค่าเบี้ยประกันตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 10, 15 หรือ 20 ปี เมื่อครบสัญญา ผู้ทำประกันจะได้รับเงินก้อนพร้อมผลประโยชน์ หรืออาจมีเงินคืนระหว่างทางตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หากเสียชีวิตระหว่างสัญญา ทายาทจะได้รับเงินประกันตามที่ระบุไว้ จุดเด่นของประกันประเภทนี้คือผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืน ไม่ใช่จ่ายเบี้ยทิ้งเปล่าเหมือนประกันชีวิตแบบทั่วไป
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตระยะยาว โดยทั่วไปจะคุ้มครองจนถึงอายุ 90 หรือ 99 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท) ผู้เอาประกันสามารถเลือกชำระเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาสั้น (เช่น 10 , 20 ปี) หรือชำระตลอดชีพ แต่จะได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องจนเสียชีวิต เมื่อเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินประกันตามทุนประกันที่เลือกไว้
ข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท
ข้อดีของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
- ได้ความคุ้มครองชีวิตและเงินออม
- มีเงินคืนระหว่างสัญญา
- ได้เงินก้อนเมื่อครบกำหนด
- สร้างวินัยการออม
- ลดหย่อนภาษีได้
ข้อเสีย
- เบี้ยประกันสูงกว่าประกันตลอดชีพ
- ทุนประกันค่อนข้างต่ำ
- ผลตอบแทนอาจไม่สูงมากนักหากเทียบกับประกันชีวิตในรูปแบบอื่น
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการออมเงินระยะกลางถึงยาว พร้อมรับความคุ้มครองชีวิตไปด้วยในเวลาเดียวกัน สามารถเลือกรับเงินคืนระหว่างสัญญา หรือรับเป็นเงินก้อนเมื่อครบกำหนดและเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนแบบมีเป้าหมาย เช่น เก็บเงินส่งลูกเรียน ซื้อบ้าน หรือวางแผนเกษียณ
ข้อดีของประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- คุ้มครองชีวิตระยะยาวหรือจนเสียชีวิต
- ทุนประกันสูงกว่า
- เบี้ยประกันถูกกว่าเมื่อเทียบกับทุนประกัน
- เหมาะกับการวางแผนมรดก
- ลดหย่อนภาษีได้
ข้อเสีย
- ไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญา
- ไม่มีเงินก้อนเมื่อครบกำหนด (เว้นแต่เสียชีวิต)
- ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการออมเงินและรับผลตอบแทนระยะสั้น
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจึงเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดก หรือสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวในระยะยาว แม้ทุนประกันสูง เบี้ยประกันจะราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับทุนประกัน ระหว่างสัญญาจะไม่มีเงินคืนระหว่างสัญญา หรือเงินก้อนเมื่อครบกำหนด (เว้นแต่เสียชีวิต) ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการใช้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือออมเงินหรือรับผลตอบแทนระยะสั้น
บทความ วิธีคิดเรื่องเงิน ไม่ให้คิดมาก
ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน?
การเลือกประกันชีวิตที่เหมาะสม ควรพิจารณาจากเป้าหมายทางการเงินและความสามารถในการชำระเบี้ยประกันเป็นสำคัญ
หากคุณเลือกประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ นั่นหมายความว่าคุณกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว เป็นเสาหลักของครอบครัวและต้องการที่จะออมเงินพร้อมรับความคุ้มครองชีวิต โดยมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน เช่น เก็บเงินเพื่อการศึกษาบุตร , ซื้อบ้าน , ซื้อรถ หรือวางแผนเกษียณและต้องการสร้างวินัยทางการเงินและผลตอบแทนที่แน่นอน ยอมรับเบี้ยประกันที่สูงกว่าแบบตลอดชีพได้
หากคุณเลือกประกันชีวิตแบบตลอดชีพ นั่นหมายความว่าคุณต้องการความคุ้มครองชีวิตในระยะยาวหรือจนกว่าจะเสียชีวิต ต้องการที่จะวางแผนส่งต่อมรดกให้ครอบครัวหรือไม่ต้องการที่จะเป็นภาระให้กับครอบครัวในวาระสุดท้ายของชีวิต เน้นทุนประกันสูง เบี้ยประกันถูกกว่าแบบสะสมทรัพย์ ไม่เน้นการออมเงินหรือรับเงินคืนระหว่างสัญญา
ประกันชีวิตตลอดชีพจึงเหมาะกับคนที่ต้องการวางแผนส่งต่อมรดกหรือความมั่นคงให้ครอบครัว ส่วนประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เหมาะกับคนที่อยากออมเงินพร้อมความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาหนึ่ง
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ประกันแบบสะสมทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีกว่า หรือแบบตลอดชีพคุ้มครองดีกว่า แต่ความจริงแล้วประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์และแบบตลอดชีพ ต่างก็มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการออมเงินและรับผลตอบแทนที่แน่นอนในอนาคต ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อาจเหมาะกับคุณ แต่ถ้าต้องการความคุ้มครองชีวิตระยะยาวและวางแผนส่งต่อมรดก ประกันชีวิตแบบตลอดชีพคือคำตอบที่ใช่ หรือจะเลือกทำทั้ง 2 ประเภทก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมในเรื่องทุนทรัพย์ เพราะประกันทั้ง 2 มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่การนำไปใช้และวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล
หากคุณต้องการตัวอย่างเปรียบเทียบกรมธรรม์แบบละเอียด หรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนประกันชีวิต สามารถติดต่อบริษัทประกันหรือตัวแทนที่เชื่อถือได้เพื่อวางแผนที่เหมาะสมกับชีวิตและเป้าหมายของคุณที่สุด ก่อนตัดสินใจเลือก ควรประเมินเป้าหมายทางการเงินของตนเอง ความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน และศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ให้รอบคอบ เพื่อให้การวางแผนประกันชีวิตของคุณตอบโจทย์อนาคตได้อย่างแท้จริง
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ