ประกันชีวิตสามารถเปลี่ยนมือหรือโอนสิทธิได้ไหม?

เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าเวลาทำประกันชีวิต นอกจากตนเองที่จะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่ออยู่จนครบสัญญาแล้ว คุณยังสามารถระบุใครลงไปได้บ้างหากต้องเสียชีวิตลง แล้วถ้าเกิดระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจอยากโอนสิทธิให้คนอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้แต่แรก จะทำได้หรือไม่? หากทำได้ มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องรู้
ประกันชีวิตเป็นสัญญาระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันหรือเจ้าของกรมธรรม์จะต้องชำระค่าเบี้ยประกันตามที่ตกลงไว้เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้เอาประกันจะเป็นคนกำหนดผู้รับผลประโยชน์ที่จะได้รับเงินประกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในสัญญา คือ กรณีเสียชีวิตของผู้เอาประกัน
แต่ในบางสถานการณ์ ผู้เอาประกันสามารถที่จะโอนสิทธิหรือเปลี่ยนมือกรมธรรม์ให้กับบุคคลอื่น เช่น การโอนให้กับสมาชิกในครอบครัว หรือการโอนสิทธิให้กับบุคคลภายนอก การโอนสิทธินี้สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดไว้

กรณีที่สามารถเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรมธรรม์หรือผู้รับผลประโยชน์ได้
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
- การเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หรือลายมือชื่อของผู้เอาประกัน
- การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อ
- การเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์
- การเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อของผู้เอาประกัน
- การเปลี่ยนแปลงงวดค่าเบี้ยที่ชำระค่าประกัน
- การเวนคืนกรมธรรม์
- การขอให้ออกกรมธรรม์ใหม่ ในกรณีที่ของเดิมชำรุด สูญหาย
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลของกรมธรรม์ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เอาประกันจะต้องเขียนคำร้องขอเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ โดยระบุรายละเอียดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับลงลายมือชื่อแล้วส่งให้ตัวแทนหรือบริษัทประกันภัยที่ทำประกันไว้ ในส่วนของของการโอนสิทธิหรือผู้รับผลประโยชน์สามารถทำได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์
หากผู้เอาประกันมิได้ระบุชื่อคนในครอบครัวเป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง บริษัทประกันจะจ่ายเงินค่าผลประโยชน์ให้กับทายาทของผู้เอาประกันตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีด้วยกัน 6 ลำดับ ดังนี้
- บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม
- พ่อแม่
- พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน
- พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
แต่ถ้ามีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์และต้องการที่จะเปลี่ยนหรือเพิ่มจำนวนผู้รับผลประโยชน์ จำนวนของผลประโยชน์ที่จะได้รับในแต่ละคน ผู้เอาประกันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับผลประโยชน์เดิม การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้โดยการแจ้งให้บริษัทประกันชีวิตทราบและจัดทำเอกสารตามที่บริษัทกำหนด
บทความ ออมเงินประกันชีวิตดีไหม

เงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์
การโอนสิทธิหรือเปลี่ยนมือกรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ใช่กระบวนการที่ซับซ้อน หากแต่มีเงื่อนไขสำคัญที่ต้องรู้และปฏิบัติตามให้ถูกต้องดังนี้
- ความยินยอมจากบริษัทประกันชีวิต การโอนสิทธิหรือเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ใด ๆ ก็ตามจะต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทประกันชีวิตก่อนเสมอ โดยบริษัทจะพิจารณาจากเงื่อนไขของกรมธรรม์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะอนุมัติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- เอกสารที่จำเป็น ผู้ถือกรมธรรม์ต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อดำเนินการโอนสิทธิ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , เอกสารกรมธรรม์ และแบบฟอร์มการโอนสิทธิที่บริษัทประกันกำหนด ซึ่งจะต้องลงลายมือชื่อทั้งในส่วนของผู้โอนสิทธิ ผู้รับโอนสิทธิ และพยาน ให้ครบถ้วน
- การชำระหนี้สิน ในบางกรณีที่ผู้เอาประกันมีหนี้คงค้างกับบริษัทประกัน ผู้เอาประกันและผู้รับโอนจะต้องยินยอมให้บริษัทประกันนำสิทธิที่ได้รับมาหักชำระหนี้ที่ค้างไว้จนครบจำนวน
- ผู้รับโอนไม่สามารถโอนสิทธิให้ผู้อื่นต่อได้ ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิเพียงแค่สิทธิที่รับโอนมาเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะโอนสิทธิที่ได้มาต่อไปให้ผู้อื่นได้
- กรณีที่ผู้รับสิทธิถึงแก่ชีวิตก่อนถึงวันเกิดสิทธิ หรือก่อนครบกำหนดตามสัญญา สิทธิที่ได้รับโอนนั้นจะถูกโอนกลับคืนให้กับผู้โอนสิทธิ (ผู้เอาประกันเดิม)
การโอนสิทธิหรือเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นเรื่องที่เจ้าของกรมธรรม์สามารถทำได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและต้องได้รับการยินยอมและอนุมัติก่อนเสมอจึงจะมีผลบังคับใช้ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการโอนสิทธิให้กับบุคคลอื่น การเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ ผู้ถือกรมธรรม์ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านประกันชีวิตและทางกฎหมายหากมีข้อสงสัย เพื่อให้การโอนสิทธิเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ