เงินในบัญชีหายทำไงดี? 5 วิธีป้องกันโดนดูดเงินจากมิจฉาชีพ

เงินในบัญชีหายทำไงดี? 5 วิธีป้องกันโดนดูดเงินจากมิจฉาชีพ

ในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ การใช้จ่ายเป็นเรื่องที่สะดวกมาก แต่ในความสะดวกสบายนี้ ผู้ใช้บริการก็ต้องระมัดระวังอย่างมากเพราะการโจรกรรมของบรรดามิจฉาชีพทั้งหลายก็ทำได้ง่ายและสะดวกเช่นกัน และนับวันมิจฉาชีพก็ยิ่งหัวใสใช้ความคิดอย่างแยบยลในการแฮกบัญชี สามารถเจาะเข้ามาใช้ข้อมูลโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ทันรู้ตัว ผลก็คือเงินในบัญชีหายไปโดยที่ไม่ได้ซื้อของหรือทำธุรกรรมอะไรเลย … เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ เจ้าของบัญชีควรรู้ว่าจะป้องกันเงินในบัญชีหายได้อย่างไรบ้าง ด้วยวิธีการป้องกันเงินหายจากบัญชี 5 วิธีที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับมิจฉาชีพได้

1.ปรับวงเงินในบัญชีบัตรเครดิต

บัญชีบัตรเครดิต และบัตรเดบิตเป็นบัญชีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้บัตรเป็นทางเลือกในการชำระเงินค่าสินค้าทางออนไลน์ โดยการผูกบัตรไว้กับแอปพลิเคชันต่าง ๆ วิธีที่จะป้องกันการแฮกบัญชีบัตรเครดิตก็คือให้เลือกตั้งค่าวงเงินในการใช้จ่ายให้ต่ำที่สุด หรือถ้าหากว่ายังไม่ต้องการใช้ซื้อสินค้าให้ปรับวงเงินในการใช้บัตรเดบิตให้เป็น 0 บาทไว้

เมื่อจะใช้บัตรจึงค่อยปรับวงเงินขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็นครั้งคราว และควรเลือกใช้บริการแจ้งเตือนธุรกรรมผ่านแอป หรือเตือนทาง SMS เมื่อมีการใช้บัตร เพื่อที่เจ้าของบัตรจะได้รู้ว่าบัตรของเราถูกใช้งานโดยที่เราไม่ได้เป็นผู้ทำรายการหรือมีการใช้ที่ผิดปกติ และทำการแจ้งธนาคารว่าเราไม่ได้เป็นผู้ทำรายการนั้น ๆ เพื่อระงับรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

เมื่อจะใช้บัตรจึงค่อยปรับวงเงินขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็นครั้งคราว และควรเลือกใช้บริการแจ้งเตือนธุรกรรมผ่านแอป หรือเตือนทาง SMS เมื่อมีการใช้บัตร เพื่อที่เจ้าของบัตรจะได้รู้ว่าบัตรของเราถูกใช้งานโดยที่เราไม่ได้เป็นผู้ทำรายการหรือมีการใช้ที่ผิดปกติ และทำการแจ้งธนาคารว่าเราไม่ได้เป็นผู้ทำรายการนั้น ๆ เพื่อระงับรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

2.ยกเลิกการผูกบัญชีผ่านช่องทางต่าง ๆ

ยกเลิกการผูกบัญชีผ่านช่องทางต่าง ๆ

การซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยผูกบัญชีเงินฝากไว้กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อชำระเงินค่าสินค้าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเจ้าของบัญชีพบว่ามีการทำรายการจ่ายเงินค่าสินค้าโดยผู้อื่นซึ่งเป็นใครไม่รู้ คาดเดาว่าน่าจะเป็นพวกมิจฉาชีพนั่นเอง

การผูกบัญชีแบบนี้จึงไม่น่าจะปลอดภัย 100% ทางแก้ก็คือยกเลิกการผูกบัญชีไว้กับเว็บไซต์ร้านค้า หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างเช่น เฟซบุ๊ก หรือแอปพลิเคชันช้อปปิ้ง แต่ถ้าต้องการผูกบัญชีไว้ก็ไม่ควรมีเงินจำนวนมาก ๆ และควรใช้บริการแจ้งเตือนเมื่อมีการหักบัญชีเพื่อที่จะได้รู้ถึงความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือมีคนอื่นแฮกเข้ามาแล้วทำรายการ

3.ลบบัญชีธนาคารออกจากบัญชี Facebook เพจร้านค้า

เฟสบุ๊กเป็นแพลตฟอร์ม Market Place อีกช่องทางหนึ่งที่คนนิยมเปิดร้านค้า และทำโฆษณา ยิงแอดโปรโมทร้านเพื่อดึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามากดติดตาม กดไลก์ กดแชร์ และมีส่วนร่วมกับเพจร้านของเรา ในการโปรโมทนี้เจ้าของร้านจะต้องผูกบัญชีไว้กับเฟสบุ๊กเพื่อหักเงินค่าโฆษณา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งช่องว่างที่มิจฉาชีพจ้องเข้ามาแฮกได้อีกเช่นกัน ถ้าหากว่าไม่ได้ทำโฆษณาแล้วควรเข้าระบบไปลบบัญชีออกก่อนจะดีกว่า

4.แจ้งขออายัดบัญชี บัตรเครดิต-บัตรเดบิต แล้วไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ

แจ้งขออายัดบัญชี บัตรเครดิต-บัตรเดบิต แล้วไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ

กรณีที่ถูกแฮกข้อมูลบัญชี แฮกบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต มิจฉาชีพจะนำข้อมูลบนหน้าบัตรที่สำคัญ เช่น เบอร์โทรที่อยู่บนหน้าบัตร รหัส cvv ไปใช้ เจ้าของบัตรจะต้องรีบติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีทันทีเพื่อขออายัดบัญชีไว้ก่อนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพดูดเงินจากบัญชี การอายัดบัญชี หรืออายัดบัตรในยุคนี้ มักจะมีการตั้งคำถามที่ซับซ้อนเพื่อให้เจ้าของบัญชีตัวจริงเท่านั้นที่ทำรายการได้

หากว่ายังไม่ทันได้อายัดแต่เงินกลับหายไปเสียก่อน ควรรีบรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และให้ลองตรวจดูในบัญชีของเราด้วยว่า มีรายการธุรกรรมรายการใดที่ผิดปกติ ถ้ามีให้รีบรวบรวมหลักฐานแล้วไปแจ้งความกับตำรวจทันที เลือกสถานีตำรวจที่ใกล้บ้านจะปลอดภัยที่สุด เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่สืบสวนค้นหาผู้กระทำความผิดและนำตัวมาดำเนินคดีตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

5.พยายามเลี่ยงการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์

การทำธุรกรรมออนไลน์แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย แต่ก็แฝงด้วยภัยอันตรายที่อาจทำให้เราเสียทรัพย์สินจำนวนมาก ดังนั้นหากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง หรือเลือกทำธุรกรรมกับเว็บไซต์ หรือแอปที่น่าเชื่อถือเท่านั้น โดยจะสังเกตได้ว่าถ้าเป็นระบบการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ปลอดภัยจะต้องมีระบบการยืนยันตัวตนด้วย OTP หรือมีเทคโนโลยี 3D Secure

นอกจากนี้ จะต้องระมัดระวังอย่างมากเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญให้กับผู้อื่นที่โทรมาติดต่อ หรือแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพราะในความเป็นจริงแล้วธนาคารทุกแห่งจะไม่ทำการสอบถามข้อมูลสำคัญทางโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัตรประชาชน ข้อมูลทางบัญชี เช่น เลขที่บัญชี หมายเลขบัตร หากว่าใครโทรมาขอข้อมูลโดยที่ไม่รู้จัก หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ อย่าวางใจ รวมถึงการไม่กดลิงก์ต่าง ๆ ที่ได้จาก SMS , Facebook หรือลิงก์จากองค์กรต่าง ๆ ที่ปลอมตัวเข้ามา (ทำชื่อให้คล้ายกับองค์กรใหญ่ เช่น การไฟฟ้า , ไปรษณีย์ เป็นต้น) เพราะมิจฉาชีพยุคนี้มีสารพัดรูปแบบจริง ๆ

ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ