Views: 26
ประกันสุขภาพจำเป็นแค่ไหนในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่หันมาทำประกันสุขภาพกันมากขึ้น .. ประกันสุขภาพเล่มนี้แท้จริงแล้วจำเป็นไหม และจำเป็นแค่ไหน มาดูกันเลย
ประโยชน์ของประกันสุขภาพ
สำหรับคำถามประกันสุขภาพมีความจำเป็นมากแค่ไหน? คำตอบคือจำเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ทำประกัน ซึ่งการทำประกันสุขภาพภาคสมัครใจมีข้อดี และมีประโยชน์หลายข้อ ได้แก่
- ลดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
- ‘ค่ารักษาพยาบาล’ ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่ทำให้หลายคนตัดสินใจทำประกันสุขภาพแม้ว่าจะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากภาครัฐ หรือจากการประกอบอาชีพอยู่แล้ว เนื่องจากประกันสุขภาพมาพร้อมวงเงินการรักษาสูง อีกทั้งยังครอบคลุมในหลายกรณี ช่วยให้ผู้เอาประกันได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และต่อเนื่องโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
- มีโอกาสเลือกสถานพยาบาลมากขึ้น
- หากไม่ทำประกันสุขภาพ ทางเลือกเดียวในการรักษาพยาบาลนั้นคือการเข้ารับรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิที่ได้รับจากรัฐบาลหรือประกันสังคมเท่านั้น แต่ประกันสุขภาพส่วนใหญ่มีรองรับในโรงพยาบาลเอกชนในเครือข่ายทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ทำประกันสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาพยาบาล อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐสามารถทำได้เช่นกัน แต่จะต่างกันตรงที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและนำใบเสร็จไปเบิกกับบริษัทประกันในภายหลัง
- เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
- นอกจากให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลแล้ว ประกันสุขภาพหลายกรมธรรม์ยังให้ความคุ้มครองเงินชดเชยรายวันให้กับผู้เอาประกันที่เข้ารับการพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (Out-Patient-Department : IPD) หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง ช่วยให้ผู้เอาประกันไม่ขาดรายได้หากต้องพักรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ในกรณีโชคร้ายเสียชีวิตคนในครอบครัวยังได้รับเงินชดเชยก้อนใหญ่ตามเงื่อนไขตามกรมธรรม์ด้วย เพราะฉะนั้นประกันสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม
ค่ารักษาพยาบาลที่ประกันสุขภาพคุ้มครอง
อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหลากหลายหมวด โดยครอบคลุมกรณีต่าง ๆ ดังนี้
กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในส่วนของ ผู้ป่วยใน
การรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในหรือ IPD (In-Patient-Department) หมายถึงผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นตามจริงในระหว่างการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น ค่าบริการทั่วไป , ค่าปรึกษาแพทย์ , ค่ารักษา , ค่าผ่าตัด , ค่าห้องพัก , ค่าอาหาร , ค่าเวชภัณฑ์หมวด 1 และหมวด 3
กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในส่วนของ ผู้ป่วยนอก
การรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอกหรือ OPD (Out-Patient-Department) หมายถึงผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถรับยาและสามารถกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังการรักษาพยาบาล ซึ่งประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองมในส่วนของค่าบริการทั่วไป , ค่าปรึกษาแพทย์ , ค่ายา , ค่าเวชภัณฑ์หมวด 1 และหมวด 3 เช่นเดียวกัน
ค่ารักษาพยาบาลที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง
ถึงแม้ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมในส่วนต่าง ๆ มากมายโดยผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองจ่ายเงินสดเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในเครือข่ายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีส่วนที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง ได้แก่
- เวชภัณฑ์ในหมวด 2 หมายถึง กลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย เช่น แว่นตา , เครื่องช่วยฟัง , เครื่องวัดสัญญาณชีพ , อุปกรณ์ออกซิเจน , ไม้เท้า , ไม้ค้ำยัน , รถเข็น , รองเท้าคนพิการ , เครื่องวัดความดัน หรืออวัยวะเทียม นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือ Defibrillator ด้วย
- โรคที่เป็นมาก่อนทำประกันสุขภาพและยังไม่จบกระบวนการรักษาพยาบาล
- โรคที่อยู่ในระยะรอคอยตามเงื่อนไข ต้องรอให้พ้นจากระยะรอคอยจึงสามารถเคลมประกันสุขภาพได้
- การรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ , การคลอดบุตร , การแท้งบุตร , การคุมกำเนิด , การทำหมัน และการกระตุ้นการมีบุตร แต่ทั้งนี้ในกรณีการคลอดบุตรสามารถซื้อประกันความคุ้มครองเพิ่มเติมได้
- อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการพยายามทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
- การรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะปัญหาทางจิต , ความวิกลจริต และความเครียด
- การตรวจสุขภาพทั่วไปโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ , การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง , การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก
- การรักษาเพื่อเสริมความยาวและเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย อย่างการศัลยกรรม , การรักษาสิว , การรักษาปัญหาหนังศีรษะ , การควบคุมน้ำหนัก , การชะลอวัย , การรักษาความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ , การผ่าตัดทางเพศ , การทำเลสิก และทันตกรรม แต่ในกรณีที่เป็นการผ่าตัดตกแต่งแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การบำบัดปัญหายาเสพติด , บุหรี่ , สุรา หรือสารที่มีฤทธิ์ต่อประสาท
- การรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ , การรักษาการนอนกรน หรือความผิดปกติในการนอนหลับ
- การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีอาหารมึนเมาจากสุราหรือสารเสพติด
- การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท , ผู้เอาประกันก่ออาชญากรรมที่ผิดกฎหมาย , การแข่งขัน , ภาวะสงคราม , เหตุก่อการร้าย , การจราจล , กัมมันตรังสี หรือนิวเคลียร์
การป้องกันความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายฉุกเฉินทางการแพทย์
ปกติแล้วคนไทยทุกคนหากมีภาวะเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือมีภาวะที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตและมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนกว่าจะพ้นวิกฤติ หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับจากวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาลตามสิทธิ UCEP แต่ถึงอย่างนั้นภาวะวิกฤติทั้งปัญหาสุขภาพและอุบัติเหตุมักใช้เวลารักษาพยาบาลนานกว่า 72 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ประกันสุขภาพจึงช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายฉุกเฉินทางการแพทย์และสามารถรักษาพยาบาลได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน
จากข้อมูลจะเห็นว่า ‘ประกันสุขภาพ’ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความกังวลเรื่องเงินแล้ว ยังช่วยให้ผู้ทำประกันมีตัวเลือกในการรักษามากขึ้น ทั้งการเข้ารับรักษาจากโรงพยาบาลเอกชนหรือเอกชน เจ็บน้อย เจ็บมากก็รักษาได้อย่างเต็มที่
ถ้าคิดถึงเรื่องประกัน TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ประกันภัย เป็นที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์ ประกันการเดินทาง และประกันด้านสุขภาพ