ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ วิธีเรียกร้องค่าชดเชยอย่างไร

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ การที่เราศูนย์เสียรายได้ หรือประโยชน์ระหว่างการรอซ่อมรถ รวมถึงการที่เราต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มเติมระหว่างรอการซ่อมรถด้วย ซึ่งเราสามารถเรียกค่าชดเชยส่วนนี้ได้จากบริษัทฯ ประกันรถยนต์ของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด นั้นเป็นที่มาของคำว่า “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ก็ความหมายตรงๆ ตัวเลยนั้นแหละ

ขั้นตอนการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

  • ถ่ายรูปสภาพรถ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ และสำเนาใบเคลมของคู่กรณีจากบริษัทประกันภัยรถยนต์
  • สำเนาใบเคลมประกันฝ่ายเรา (อย่าลืมว่า ก่อนนำรถเข้าซ่อมต้องสำเนาเก็บไว้ด้วยนะ)
  • สำเนารายละเอียดการซ่อมรถ และสำเนาใบรับรถพร้อมระบุวันที่ส่งมอบรถคืนที่ชัดเจน (หลังจากซ่อมเสร็จ)
  • การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
    • แจ้งบริษัทประกันภัยของคู่กรณี ว่าต้องการเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
    • ส่งเอกสารตามข้อ 1-3 และ สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาบัตรประชาชนของผู้เรียกร้อง
    • จดหมายเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ โดยระบุรายละเอียดค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการซ่อมรถ รวมถึงชื่อ และเบอร์โทรติดต่อกลับด้วย

*** ข้อมูลอ้างอิงประกาศจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เรื่อง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน พ.ศ.2559 คำสั่งนายทะเบียน ที่ 70/2561 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2561 บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง และได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็น 3 กลุ่ม

ค่าชดเชยสำหรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ มีทั้งหมด 3 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 รถยนต์มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน รวมผู้ขับขี่ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
  • กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะมีที่นั่งไม่เกิน 7 คน รวมผู้ขับขี่ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
  • กลุ่มที่ 3 รถยนต์ที่นั่งรวมผู้ขับขี่เกิน 7 คน ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท

* การเรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
** หากเป็นรถอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในประเภททั้ง 3 กลุ่ม เช่น รถจักรยานยนต์ จะต้องเรียกร้องกันตามตกลงจากคู่กรณีโดยใช้หลักฐานที่เกิดจากอุบัติเหตุเป็นหลัก

ตัวอย่างการคำนวนเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

หากรถของเราถูกชนเสียหาย จะต้องเข้าอู่ซ่อมรถยนต์เป็นเวลา 4 เดือน เราควรจะได้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเท่าไหร่ จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับการคิดคำนวนจากบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์ของคู่กรณี เช่น หากรถของเราต้องเข้าอู่ซ่อมนานโดยเป็นเหตุผลของทางอู่ เช่น อู่มีลูกค้าอยู่หลายคิว หรือ อะไหล่ในการซ่อมไม่มี ทำให้ระยะเวลาการซ่อมนาน เหตุผลต่างๆ เหล่านี้

แต่ละบริษัทฯ ประกันรถยนต์คำนวนค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถให้ประมาน 500 – 1,000 บาท/วัน และคำนวนระยะเวลาซ่อมให้เพียง 20 – 30 วันเท่านั้น แต่ถ้าหากเราเสียประโยชน์จากการใช้รถมากกว่าที่บริษัทฯ ประกันรถยนต์คู่กรณีคำนวนให้ล่ะ อย่างนี้เราจะสามารถเรียกร้อง และขอให้บริษัทฯ ประกันของคู่กรณีคิดคำนวนค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถได้มากกว่านี้ได้อย่างไร

ตัวอย่างจาก website คปภ. การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

หลักเกณฑ์การคำนวนการขาดประโยชน์จากการใช้รถ

ตามปกติหลักการคิดคำนวนค่าขาดประโยชน์จากความเสียหายของรถจะไม่สามารถขอเพิ่มได้ แต่ถ้าหากเกิดการจากที่อู่ยืดเยื้อ ไม่ยอมซ่อมโดยไม่มีเหตุที่สมควร เราจะสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเพิ่มเติมได้ แต่ได้เพิ่มเฉพาะจำนวนวันที่ล่าช้าเท่านั้นนะ เช่น บริษัทฯ ประกันรถยนต์คู่กรณีคำนวนเวลาซ่อมไว้ที่ 15 – 20 วัน แต่อู่เกิดไม่ยอมหาอะไหล่มาซ่อมหรือหาอะไหล่ซ่อมช้ามาก ทำให้ใช้เวลาซ่อมถึง 4 เดือน เราสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็น 120 วันได้

นอกจากนี้เรายังสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ตั้งแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ แต่เราสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเท่านั้นไม่รวมค่าขาดรายได้จากการทำงานนะ แต่เราสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนที่เราต้องหารถยนต์คนอื่นมาใช้แทนรถที่ถูกชนจนเข้าอู่ไป จากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้

ซึ่งขึ้นอยู่กับการต่อรองกับบริษัทฯ ประกันรถยนต์ของคู่กรณี หากการต่อรอรองมีปัญหาหรือเกิดความขัดแย้ง ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ให้นำเรื่องไปเจรจาต่อที่สำนักงาน คปภ. ได้

ขั้นตอนการแจ้งเรื่องกับ คปภ. เรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์เพิ่ม

  1. ติดต่อสำนักงาน คปภ. 1186 หรือ 0-2515-3999
  2. คปภ. จะใช้เวลา 10 – 15 วัน ในการดำเนินการเรียกบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์มาเจรจากับผู้ร้องเรียน
  3. คปภ. จะช่วยแจ้งเรื่องและแนวทางการจ่ายขั้นต่ำ 500 บาท, 700 บาท และ 1000 บาท แต่การพิจารณาขึ้นอยู่กับทางบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์อยู่ดี แต่ คปภ. จะมาช่วยเจรจาไกล่ไกลี่ยและยกหลักเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงวันเข้าซ่อมและวันรับรถเท่านั้น
  4. ค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถ ซึ่งจะได้รับเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการเจรจา เพราะสุดท้าย คปภ. เป็นตัวกลางเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการบังคับให้บริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์ต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรเพิ่มเติม

สรุป

หากคุณขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันขึ้น โดยคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด เราสามารถเรียกร้องให้คู่กรณีซ่อมรถยนต์ให้เราตามปกติแล้ว นอกจากนี้ ระหว่างรอการซ่อมรถยนต์ อย่าลืมเรียกร้อง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ กันด้วยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียสิทธิ ด้วยความห่วงใยจาก TPIS หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่นี่คลิก

สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!

TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ ทั้งประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยกับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

"เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้" เพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงเว็บไซต์และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
หากท่านไม่ประสงค์จะให้คุกกี้เก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ท่านสามารถยกเลิกโดยการปิดการทำงานของคุกกี้ได้จากบราวเซอร์ของท่าน
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save