ไขข้อสงสัย ประมาทร่วมประกันจ่ายไหม ใครรับผิดชอบ ?

ไขข้อสงสัย ประมาทร่วมประกันจ่ายไหม ใครรับผิดชอบ ?

Key Takeaways: 

  • คงไม่มีใครอยากให้อุบัติเหตุบนท้องถนน แต่หากเกิดเหตุประมาทร่วมขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะถือว่าผิดเท่ากัน ต่างฝ่ายก็ต่างต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถเองหากไม่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้ แต่ยังสามารถรับความคุ้มครองจากประกันภัย พ.ร.บ. ภาคบังคับได้อยู่
  • หากเกิดอุบัติเหตุแล้วรถเสียหาย แต่ทำประกันชั้น 1, 2+ หรือ 3+ ไว้ ก็ยังอุ่นใจได้อยู่ เพราะกรมธรรม์นั้นครอบคลุมค่าซ่อมรถผู้เอาประกัน ถึงแม้จะเป็นกรณีประมาทร่วม เพียงแต่อาจจะได้รับไม่เต็มจำนวน เพราะเรามีส่วนผิดด้วยนั่นเอง

อุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่เกิดจากเราก็เป็นคนอื่น แล้วจะทำอย่างไรหากกรณีที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการประมาทร่วมกันทั้งคู่ วันนี้ TPIS เลยขอมาตอบข้อสงสัยว่า กรณีประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม ? แล้วใครต้องรับผิดชอบ ตอบให้ครบ จบ ที่นี่

1.ประมาทร่วมคืออะไร ?

การประมาทร่วม
ภาพ: การประมาทร่วม

“ต่างฝ่ายต่างประมาท จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ”

การประมาทร่วม คือ เหตุการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายประมาทร่วมกันจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ถือว่าผิดเท่า ๆ กัน ส่วนอีกความหมายหนึ่งในทางกฎหมาย แปลว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” หมายถึง ต่างฝ่ายต่างประมาทด้วยกันทั้งคู่จนทำให้เกิดเหตุขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งคู่

ที่สำคัญคือ ไม่มีการประมาทร่วมระบุอยู่ในข้อกฎหมาย เพราะหากใช้คำว่า “ร่วม” จะกลายเป็นว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นโดยเจตนา ร่วมกันทำโดยทันที จึงเป็นการต่างคนต่างประมาทแทนนั่นเอง

2.ถ้าประมาทร่วม ใครต้องรับผิดชอบ

อุบัติเหตุจากการประมาทร่วม
ภาพ: อุบัติเหตุจากการประมาทร่วม

“รับผิดชอบเองทั้งคู่”

หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าเกิดเคสประมาทร่วมแบบนี้ ใครจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น คู่กรณีหรือเรา ? โดยทั่ว ๆ ไปเวลาเกิดอุบัติเหตุที่ผิดเท่า ๆ กันแบบนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะตัดสินว่าเป็นกรณี “ประมาทร่วม” นั่นหมายความว่า ทั้งคู่ประมาท และต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเอง ทั้งค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ

แต่หากในเหตุนั้นทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคลที่ 3 เช่น ชนคนที่เดินผ่านไปผ่านมาบนฟุตบาท ชนกับประตูบ้านผู้อื่น หรือผู้โดยสารในรถเกิดบาดเจ็บ จะต้องช่วยกันรับผิดชอบความเสียหายคนละครึ่ง

3.ประมาทร่วม แต่ไม่มีประกันจะเกิดอะไรขึ้น

เกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีประกัน
ภาพ: เกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีประกัน

“ยังเคลมค่ารักษากับพ.ร.บ.ได้”

คงไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ถ้าหากว่าเกิดเคสประมาทร่วมขึ้นมา แต่ดันไม่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้จะเกิดอะไรขึ้น ? ที่จริงแล้วในกรณีนี้ หากเกิดการบาดเจ็บ จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ก็ยังมีความคุ้มครองอยู่ โดยเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้กับประกันภัย พ.ร.บ. ภาคบังคับที่เราจ่ายอยู่ทุก ๆ ปีได้ 

ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นค่าชดเชย
กรณีบาดเจ็บ30,000 บาท/คน
กรณีสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร35,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต35,000 บาท/คน

แต่หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ แล้วไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ ค่าเสียหายทั้งหมดของรถเราในกรณีประมาทร่วม ไม่ว่าจะซ่อมส่วนไหนของตัวรถ ก็จะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

4.ประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม ? เคลมได้รึเปล่า ?

การเคลมประกัน
ภาพ: การเคลมประกัน

“ประกันจ่ายไหม ขึ้นอยู่กับประกันที่เลือก”

ส่วนหากใครที่ทำประกันรถยนต์ไว้ แล้วเกิดคำถามว่า กรณีประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม เคลมได้รึเปล่า ? คำตอบก็คือ เคลมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่เลือกไว้ เพราะเป็นเคสที่เกิดขึ้นแบบมีคู่กรณี ยิ่งเลือกทำประกันที่ความคุ้มครองครอบคลุมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งอุ่นใจ เพราะมีบริษัทประกันดูแลค่าใช้จ่ายให้เกือบทั้งหมดเลยนั่นเอง 

ประเภทประกันความคุ้มครองกรณีประมาทร่วม
ประกันชั้น 1คุ้มครองค่าเสียหายรถเรา แต่อาจไม่เต็มจำนวน เนื่องจากผิดทั้งคู่ และครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์
ประกันชั้น 2+ และ 3+คุ้มครองค่าเสียหายรถเราในกรณีรถชนรถ แต่อาจไม่เต็มจำนวน เนื่องจากผิดทั้งคู่ และครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์
ประกันชั้น 2 และ 3ไม่สามารถเคลมความคุ้มครองได้ ทั้งรถผู้เอาประกันและรถคู่กรณี เนื่องจากเป็นกรณีประมาทร่วม

ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครอง คุ้มค่า จากกรุงเทพประกันภัย

ประกันภัยรถยนต์จากกรุงเทพประกันภัย
ภาพ: ประกันภัยรถยนต์จากกรุงเทพประกันภัย

ไม่ว่าจะเป็นกรณีประมาทร่วม หรืออุบัติเหตุไม่คาดฝันอื่น ๆ การมีประกันชั้น 1 ไว้ ย่อมอุ่นใจที่สุด เพราะรับความคุ้มครองแบบครอบคลุม ไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องค่าเสียหาย เลือกประกันรถยนต์ชั้น 1 จากกรุงเทพประกันภัย คุ้มครอง-คุ้มค่า ตอบโจทย์คนรักรถ สบายใจทุกการขับขี่

  • เดินทางแบบไร้กังวล คุ้มครองแบบครอบคลุมทุกอุบัติเหตุ รถชน รถหาย ไฟไหม้
  • คุ้มค่า ประหยัดกว่าประกันชั้น 1 แบบปกติ เบี้ยเริ่มต้นราคาเบา ๆ 
  • อุ่นใจ ขับรถไร้กังวลกับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินนอกสถานที่ตลอด 24 ชั่วโมง
  • อู่ซ่อมมาตรฐาน มั่นใจในคุณภาพ

สรุป

ทั้งหมดนี้คงพอให้คลายข้อสงสัยว่า เคสประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม ใครต้องรับผิดชอบ ที่จริงก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุ แต่เหตุฉุกเฉินก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว เพราะงั้นยิ่งเราเลือกทำประกันที่ครอบคลุมรอบด้านมากเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1, 2+ หรือ 3+ ก็ยิ่งอุ่นใจ เพราะมีประกันช่วยดูแลในทุก ๆ การขับขี่เลยนั่นเอง 

ถ้าหากกำลังสนใจอยากทำประกันรถยนต์ แต่ไม่รู้จะเลือกเจ้าไหนดีถึงจะตอบโจทย์ มาค้นหาประกันรถยนต์ที่ “ใช่” รับความคุ้มครองที่ตรงใจ คุ้มค่า กับ TPIS โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์ เช็คราคาและซื้อประกันกับบริษัทชั้นนำได้ง่าย ๆ 

ทำไมต้อง TPIS ?

  • ทีมงานมืออาชีพ ดูแลดี พร้อมบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ทุกแบบ
  • เบี้ยประกันภัยในราคาสุดพิเศษจากบริษัทประกันชั้นนำ พันธมิตรของ TPIS
  • โปรโมชั่นผ่อนสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือน  
  • เช็คและเปรียบเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ รู้ผลได้เร็วทันใจ ใน 3 นาที

สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ได้เลย ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ TPIS พร้อมติดต่อกลับทันที!

แจ้งข้อมูลเพื่อให้บริษัทติดต่อกลับ

TPIS ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส ที่ปรึกษาด้านประกันภัยรถยนต์
เราพร้อมดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้คุณได้บริษัทประกันที่ตรงใจพร้อมแบบประกันภัยที่ตอบโจทย์ แถมยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน* สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์กับตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*ผ่อน 0% นานสูงสุด 6 เดือน กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

"เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้" เพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงเว็บไซต์และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
หากท่านไม่ประสงค์จะให้คุกกี้เก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ท่านสามารถยกเลิกโดยการปิดการทำงานของคุกกี้ได้จากบราวเซอร์ของท่าน
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save