เครื่องหมายจราจร มีกี่ประเภท ป้ายจราจรสำคัญต้องรู้ก่อนสอบใบขับขี่

เครื่องหมายจราจร เรื่องต้องรู้ก่อนสอบใบขับขี่

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่าในการสอบใบขับขี่ นอกจากการสอบภาคปฏิบัติหรือการสอบขับรถในสนามจำลองของกรมการขนส่งทางบกแล้ว ยังต้องทำข้อสอบภาคทฤษฎีให้ผ่านตามเกณฑ์ 90% หรือทำให้ถูกเกินกว่า 45 ข้อ จาก 50 ข้อด้วย ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มข้อสอบที่มีจำนวนมากที่สุดนั้นหนีไม่พ้นหมวด เครื่องหมายจราจร เนื่องจากมีหลายแบบหลายประเภท ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนรู้สึกเป็นกังวลมากกว่าการสอบภาคปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเพื่อช่วยให้คนที่กำลังวางแผนสอบใบขับขี่กังวลน้อยลง เรามีเรื่องน่ารู้เพื่อทำความเข้าใจเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งการสอบใบขับขี่จะต้องรู้ไว้ อีกทั้งจะเป็นประโยชน์และเพื่อความปลอดภัยเมื่อขับรถยนต์บนถนนจริงอีกด้วย

เครื่องหมายจราจร คืออะไร มีกี่ประเภท

เครื่องหมายจราจร หรือ Traffic Sign หมายถึง สัญลักษณ์ทางจราจรที่ควบคุมการจราจรบนท้องถนน บังคับการเคลื่อนตัว เตือน หรือให้คำแนะนำกับผู้ขับขี่เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยเครื่องหมายการจราจรที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

สัญญาณไฟจราจร

1. สัญญาณไฟจราจร

สำหรับสัญญาณไฟจราจรถือเป็นสิ่งสากลที่ทั่วโลกใช้เหมือนกัน โดยหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถให้เป็นไปตามกำหนด ผ่านไฟจราจรรูปวงกลมหรือไฟลูกศรบอกเส้นทาง 3 สี ได้แก่ สีเขียว หมายถึงสามารถวิ่งต่อไปได้ สีเหลือง หมายถึงให้ชะลอรถเพื่อเตรียมตัวหยุด และสีแดง หมายถึงให้หยุดรอสัญญาณไฟเขียว ด้วยเหตุนี้สัญญาณไฟจราจรจึงมักอยู่บริเวณทางแยก ทางเบี่ยง หรือจุดที่มีการจราจรหนาแน่น

2. เครื่องหมายจราจรบนผิวถนน

เช่น เส้นประ เส้นทึบ สัญลักษณ์ ข้อความบนพื้นถนน หรือแถบสีขอบทางเท้า ถือเป็นเครื่องหมายจราจรสอบใบขับขี่ อีกประเภทที่เห็นในข้อสอบใบขับขี่ได้บ่อยเช่นกัน โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนพื้นถนนหรือขอบทางเท้า ทำหน้าที่บังคับทิศทาง เตือน หรือกำหนดให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตาม

3. ป้ายจราจร

เป็นเครื่องหมายที่คนใช้รถใช้ถนนต้องพบมากที่สุด ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน ทั้งป้ายบังคับ สำหรับบังคับผู้ขับขี่ให้ปฏิบัติตาม ป้ายเตือน เพื่อแจ้งเตือนลักษณะทางข้างหน้า ส่วนใหญ่มักพบได้ในเขตที่เป็นอันตราย และป้ายแนะนำ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลกับผู้ขับขี่ อย่างเช่น ป้ายบอกระยะทาง ป้ายบอกทางลัด ป้ายบอกสถานที่สำคัญ

เครื่องหมายจราจร ที่พบบ่อยในการสอบใบขับขี่

การสอบใบขับขี่ในหมวดเครื่องหมายจราจร จะมีการสอบครบในทุกหมวด ทั้งเครื่องหมายบนพื้นถนน ป้ายบังคับ ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ ซึ่งเครื่องหมายที่พบได้บ่อยในข้อสอบมี ดังนี้

  • เครื่องหมายเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงตัดกันภายในกรอบเส้นทึบสีเหลือง ลักษณะเป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงไขว้กันในกรอบเส้นทึบสีเหลืองบนพื้นถนน หมายถึงห้ามรถทุกชนิดหยุดรถในแนวเส้นทึบสีเหลือง ยกเว้นรถที่หยุดรอเพื่อเลี้ยวขวาเท่านั้น
  • เครื่องหมายห้ามรถยนต์ ลักษณะเป็นป้ายวงกลมพื้นสีขาว ตรงกลางมีรูปรถยนต์สีดำ และมีแถบคาดสีแดงข้างเดียว หมายถึงห้ามรถยนต์ทุกประเภทผ่านเข้าไปเส้นทางข้างหน้า
  • เครื่องหมายห้ามรถบรรทุก ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายห้ามรถยนต์ผ่าน แต่ตรงกลางเปลี่ยนเป็นรูปรถบรรทุก หมายถึงห้ามรถบรรทุกทุกชนิดผ่านเข้าไปยังเส้นทางข้างหน้า แต่อนุญาตให้รถชนิดอื่น ๆ สามารถผ่านได้
  • เครื่องหมายห้ามหยุดรถ ลักษณะเป็นป้ายวงกลมพื้นสีน้ำเงิน ขอบสีแดง และด้านในมีกากบาทสีแดงหมายถึง ห้ามรถทุกชนิดหยุดหรือจอดในบริเวณนั้น
  • เครื่องหมายห้ามใช้ความเร็ว ลักษณะเป็นป้ายวงกลมพื้นสีขาว ขอบสีแดง ด้านในมีตัวเลข หมายถึงห้ามใช้ความเร็วเกินกว่าที่ระบุไว้บนป้าย
  • เครื่องหมายช่องเดินรถมวลชน ลักษณะเป็นป้ายวงกลมพื้นสีน้ำเงิน เส้นขอบสีขาว ตรงกลางมีสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดขอบสีขาวพื้นสีน้ำเงิน ด้านในมีตัวเลข หมายถึง ช่องทางดังกล่าวอนุญาตเฉพาะรถที่มีผู้โดยสารไม่น้อยกว่าระบุไว้บนป้ายผ่าน
  • เครื่องหมายทางผิวขรุขระ ลักษณะป้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดพื้นสีเหลือง เส้นขอบสีดำ ด้านในมีรูปครึ่งวงกลมสีดำสองอันบนแถบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำ หมายถึง ทางด้านหน้ามีลักษณะขรุขระ เป็นหลุมบ่อ หรือสันดอนติดกัน ควรขับรถอย่างระมัดระวัง
เครื่องหมายจราจรระวังคนข้ามถนนข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่

เครื่องหมายระวังคนข้ามถนนข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่

ลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบดำ ด้านในมีรูปคนผู้ใหญ่และเด็กสีดำ หมายถึง ทางด้านหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง และห้ามใช้เสียงสัญญาณรบกวนขณะมีการเรียนการสอน

รวม เครื่องหมายจราจร ที่พบบ่อย

แม้บางคนจะสนใจเครื่องหมายจราจรสอบใบขับขี่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วผู้ขับขี่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องหมายจราจร เพื่อความปลอดภัยกับทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทาง โดยเฉพาะเครื่องหมายที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น

ป้ายห้ามแซง

1. ป้ายห้ามแซง

ป้ายวงกลมพื้นขาวขอบสีแดง ด้านในมีลูกศรตรงและลูกศรคดเคี้ยวเริ่มซ้าย คาดด้วยเส้นสีแดง หมายถึงบริเวณนั้นเป็นเขตห้ามแซง มักพบในบริเวณที่ถนนแคบหรือทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดี

ป้ายจำกัดความสูง

2. ป้ายจำกัดความสูง

ป้ายวงกลมพื้นขาว ขอบแดง ด้านในมีตัวเลข หน่วยความสูงเป็นเมตร ด้านบนและด้านล่างมีสามเหลี่ยมสีดำ หมายถึงให้เฉพาะรถที่มีความสูงไม่เกินตัวเลขที่กำหนดผ่านเท่านั้น มักพบป้ายประเภทนี้บริเวณสะพาน อุโมงค์ หรือทางเข้าอาคาร

ป้ายจำกัดความเร็ว

3. ป้ายจำกัดความเร็ว

ป้ายวงกลมพื้นสีขาวขอบแดง ด้านในมีตัวเลขระบุความเร็ว หมายถึงให้รถทุกประเภทขับจำกัดความเร็วไม่เกินกว่าที่ป้ายระบุไว้ในหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง

ป้ายห้ามกลับรถ

4. ป้ายห้ามกลับรถ

ป้ายวงกลมพื้นขาวขอบแดง ด้านในลูกศรกลับรถด้านซ้ายหรือด้านขวา คาดทับด้วยเส้นสีแดง หมายถึงห้ามรถทุกชนิดกลับรถ

ป้ายระวังคนข้าม

5. ป้ายระวังคนข้าม

ป้ายประเภทนี้จะมีพื้นหลังสีเหลือง ตรงกลางมีรูปคนข้ามถนน ถ้าเป็นคนข้ามคนเดียว หมายถึงเป็นบริเวณเขตชุมชนมีคนข้ามถนนหนาแน่น แต่กรณีที่เป็นภาพเด็กและผู้ใหญ่ หมายถึงข้างหน้ามีโรงเรียน ควรลดความเร็ว และลดการใช้เสียงสัญญาณในเวลาการเรียนการสอน

รวม เครื่องหมายจราจร ที่คนมักเข้าใจผิด

เนื่องจากเครื่องหมายจราจร มักแสดงเพียงสัญลักษณ์บนป้ายเท่านั้น จึงทำให้ในบางครั้งผู้ขับขี่เกิดความเข้าใจผิดระหว่างป้ายหรือสัญลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน เช่น

ป้ายห้ามจอด
ป้ายห้ามจอด
ป้ายห้ามเข้า
ป้ายห้ามเข้า

ป้ายห้ามจอดและป้ายห้ามเข้า

ลักษณะของป้ายห้ามจอดเป็นป้ายวงกลมพื้นหลังสีน้ำเงิน ขอบแดง คาดแดงข้างเดียว ส่วนลักษณะของป้ายห้ามเข้าเป็นป้ายวงกลมเช่นเดียวกันแต่พื้นสีแดง ขอบนอกสีแดง ขอบในถัดมามีสีขาว และมีสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอนสีขาวอยู่ตรงกลาง ซึ่งด้วยความหมายอาจทำให้ผู้ขับขี่จำความหมายสลับกันได้

ป้ายทางคดเคี้ยว
ป้ายทางคดเคี้ยว
ป้ายเตือนถนนลื่น
ป้ายเตือนถนนลื่น

ป้ายทางคดเคี้ยวและป้ายเตือนถนนลื่น

ด้วยลักษณะป้ายที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดพื้นสีเหลืองขอบสีดำเหมือนกัน รวมทั้งด้านในของป้ายยังมีรูปทางคดเคี้ยว จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดเวลาเห็น ทั้ง ๆ ที่มีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สำหรับป้ายทางคดเคี้ยวจะเป็นรูปลูกศรคดเคี้ยวเริ่มขวา ส่วนป้ายบอกถนนลื่นจะเป็นรูปเส้นคดเคี้ยวสีดำสองเส้นและรูปรถยนต์

เครื่องหมายจราจร ของแถบสีบนริมฟุตพาท

ความหมายของแถบสีบนริมฟุตพาท

เรียกว่าเป็นอีกสัญลักษณ์ที่ผู้ขับขี่เข้าใจผิดมากที่สุด เพราะบริเวณริมขอบฟุตพาทนั้นมีแถบสีที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยกรณีที่เป็นสีขาวสลับเหลืองนั้นสามารถหยุดรถได้ชั่วคราวเท่านั้น เช่น รับ-ส่งคน หรือขนของ ขณะที่สีขาวสลับแดง หมายถึงห้ามหยุดรถ ห้ามจอดรถ โดยเด็ดขาด มักเป็นจุดที่อันตรายและกีดขวางทางสัญจรของรถยนต์คันอื่น เช่น ทางเลี้ยวเข้าออกอาคารสถานที่ และยังมีแบบสีขาวสลับดำ ซึ่งเป็นการใช้ในจุดที่ต้องการให้ผู้ใช้รถใช้ถนน สังเกตเห็นขอบทางได้อย่างชัดเจน เช่น ใกล้ทางขึ้นสะพาน วงเวียน ทางโค้ง ทางเลี้ยว ที่กลับรถ ให้ชะลอความเร็วและขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ห้ามจอดรถบริเวณแถบขาว-ดำ เช่นกัน เพราะเป็นจุดคับขันเสี่ยงอันตราย

จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายจราจรและสัญลักษณ์จราจรนั้นมีอยู่หลายแบบ เพราะฉะนั้นก่อนไปสอบใบขับขี่หรือขับรถบนถนนจริงร่วมกับผู้อื่น ควรศึกษาเครื่องหมายและกฎข้อบังคับอย่างละเอียด เพื่อให้สอบใบขับขี่ผ่านและขับรถได้อย่างปลอดภัย

หากคุณกำลังสนใจจะ ต่อประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 หรือ ประกันรถยนต์ออนไลน์ แล้วล่ะก็… ที่ ตรีเพชรอินชัวรันส์ (TPIS) เสนอราคาเบี้ยประกันให้คุณคุ้มค่าที่สุด! เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ให้เหมาะสมกับคุณ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างน่าพึงพอใจ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

"เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้" เพื่อเป็นข้อมูลการปรับปรุงเว็บไซต์และการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น
หากท่านไม่ประสงค์จะให้คุกกี้เก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ท่านสามารถยกเลิกโดยการปิดการทำงานของคุกกี้ได้จากบราวเซอร์ของท่าน
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัท

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
สนใจทำประกันรถยนต์ เรื่องประกันวางใจ ตรีเพชรอินชัวรันส์

สนใจทำประกันรถยนต์
กรุณากรอกข้อมูลหรือเพิ่มเพื่อน LINE@TPIS

ตรีเพชรอินชัวรันส์ เพิ่มเพื่อน คลิก!

หนังสือให้ความยินยอม

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมแก่ บริษัท ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส จำกัด (ต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทฯ”) ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
    ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด สถานภาพการสมรส ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ข้อมูลการติดต่อ ไลน์ไอดี เฟซบุ๊คไอดี อาชีพ การศึกษา เลขบัตรประจำตัวประชาชน/หนังสือเดินทาง และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ของข้าพเจ้าเท่าที่จำเป็น รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ข้างต้นที่บริษัทฯจะเก็บรวบรวมในอนาคต เป็นต้น (ต่อไปนี้เรียกว่า "ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม")
  2. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม
    ข้าพเจ้าให้ความยินยอมแก่บริษัทฯ ในการใช้และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต และผลิตภัณฑ์/บริการอื่นของบริษัทฯ การติดต่อสื่อสารเพื่อสำรวจการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯและ/หรือสำรวจความพอใจในการซื้อผลิตภัณฑ์และการให้บริการหลังการขาย การแจ้งเตือนกิจกรรมส่งเสริมการขายหรือให้ส่วนลดพิเศษ การศึกษาวิจัยทางการตลาดและการนำเสนอหรือสำรวจวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์และไม่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ และบริการตลาดกลางออนไลน์เพื่อซื้อขายรถยนต์หรือสินค้ามือสองของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มตรีเพชร รวมถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตที่บริษัทฯ เป็นนายหน้า

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมแก่บริษัทฯ ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เพื่อการนำเสนอขายรถยนต์, อุปกรณ์และอะไหล่ที่เกี่ยวกับรถยนต์ รวมถึงบริการหลังการขาย และบริษัท ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง จำกัด เพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่ออื่น ๆ รวมถึงบริษัทประกันวินาศภัยและ/หรือบริษัทประกันชีวิตที่บริษัทฯ เป็นนายหน้า เพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยของบริษัทประกันภัยดังกล่าว

ข้าพเจ้ารับทราบว่า บริษัทฯ จะดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม โดยปฏิบัติ ตามนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวซึ่งข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัทฯ เป็นต้น

ข้าพเจ้าได้อ่านรับทราบและเข้าใจข้อความเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่เก็บรวบรวมซึ่งเกี่ยวกับข้าพเจ้าในหนังสือฉบับนี้โดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนาและความประสงค์ของ ข้าพเจ้า ทุกประการ รวมทั้ง ข้าพเจ้ายินยอมให้ บริษัทฯ ดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามรายละเอียด ที่ระบุข้างต้น